หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย              :  หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

                ชื่อภาษาอังกฤษ          :   Doctor of Veterinary Medicine Program

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต

                ชื่อย่อภาษาไทย          :  สพ.บ.

                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Doctor of Veterinary Medicine

                ชื่อย่อภาษาไทย          :  D.V.M

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า     240  หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • องค์กรภาครัฐ/งานราชการ ได้แก่ หน่วยงานสังกัดกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์กรปกครองรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
  • องค์กรภาคเอกชน ได้แก่ องค์กรระหว่างประเทศองค์กรอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ และชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์ องค์กรวินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว ได้แก่ โรงพยาบาลสัตว์ คลินิกรักษาสัตว์ นายสัตวแพทย์ประจำฟาร์มสัตว์และที่ปรึกษาประจำฟาร์มสัตว์
  • นักวิจัยอิสระ หรือศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

5. ปรัชญาและความสำคัญ

             ผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์ที่มีความรู้และความสามารถด้านทักษะพื้นฐานวิชาชีพ และวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยสามารถบูรณาการองค์ความรู้และทักษะที่ศึกษา
เพื่อประยุกต์ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์อย่างมีศักดิ์ศรี คุณธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยสามารถปฏิบัติงานได้ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

6. วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ และความชำนาญในวิชาชีพการสัตวแพทย์ บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อรับใช้สังคม ตอบสนองความต้องการบุคลากรวิชาชีพสัตวแพทย์ ทั้งในภาครัฐ ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชนทั้งภายในและนอกประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 
  • เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านสัตวแพทยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้บัณฑิตประยุกต์ในการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์รวมทั้งสามารถนำไปพัฒนาวิชาชีพการสัตวแพทย์ให้ก้าวหน้าต่อไปได้
  •  เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถด้านการบริหารธุรกิจด้านการผลิตสัตว์และการสัตวแพทย์
  • เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ มีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
    สารสนเทศ ในระดับที่ใช้ในการสื่อสารและค้นคว้าได้ดี และประยุกต์ในการประกอบวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
  • เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และเข้าใจในบทบาทของวิชาชีพการสัตวแพทย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและสามารถประกอบวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับศึกษาตอนปลาย หรือ
  •   เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ผู้ที่มีคุณสมบัติเข้าศึกษาทั้ง 2.2.1 และ 2.2.2 ต้องผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่คณะ      

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  •  การพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Student Portfolio)
  • การรับแบบโควตา
  • การรับตรงร่วมกับสถาบันผลิตแพทย์แห่งประเทศไทย (กสพท)
  • การรับแบบ admissions กับสำนักงาคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)    
  • การรับตรงอิสระ

9. ระยะเวลาการศึกษา

             6 ปี

10. อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา 29,000 บาท/ภาคการศึกษา

Curriculium (เล่มหลักสูตร มคอ.2 แบบไฟล์ PDF)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Programme Learning Outcome: PLO)
PLO 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
PLO 2 ทำงานเป็นทีม ปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการสื่อสารที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
PLO 3 บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการบริบาลสุขภาพสัตว์ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
PLO 4 เลือกใช้เวชภัณฑ์และชีวภัณฑ์ทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
PLO 5 อธิบายและเปรียบเทียบโครงสร้างและการทำงานของร่างกายสัตว์แต่ละชนิดได้
PLO 6 หาสาเหตุของโรคโดยใช้ความรู้ทางด้านจุลชีววิทยา ปรสิตวิทยา และพยาธิวิทยาในสัตว์ได้
PLO 7 วิเคราะห์ วินิจฉัย และรักษาโรคและความผิดปกติทางคลินิกในสัตว์เลี้ยง สัตว์เศรษฐกิจ สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์ป่าได้
PLO 8 ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพการสืบพันธุ์สัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตในสัตว์ได้
PLO 9 ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าที่เป็นผลผลิตจากสัตว์ ได้แก่ เนื้อ นม และไข่ ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้
PLO 10 วางแผนการป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญในสัตว์ และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน
PLO 11 พัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมทางวิชาชีพทางสัตวแพทย์และนำเสนอสัมมนาได้